การได้รับการสนับสนุนจากชุมชนเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยผลักดันให้การเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ วัฒนธรรมรวมทั้งทัศนคติของคนในชุมชน เช่น เพื่อนฝูง เพื่อนบ้าน ผู้นำชุมชน ฯลฯ ชุมชนใดก็ตามที่คิดว่าเป็นเรื่องปกติที่แม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือถ้าแม่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีวัฒนธรรมการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
แม่ก็จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและไม่ให้อาหารอื่นแก่ลูก ก่อนอายุ 6 เดือน บางชุมชนมีความคิดว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องของความยุ่งยาก น่าอาย แม่ มักจะไม่ประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร ให้ประชาชนใน ชุมชนเห็นความสำคัญและเข้าใจถึงคุณค่าของนมแม่ ซึ่งจะส่งผลให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่าง ต่อเนื่อง
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนเห็นคุณค่าของนมแม่มากขึ้น พยาบาลซึ่งเป็นหนึ่งในทีมสุขภาพมีส่วนช่วยให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่โดยร่วมมือกับชุมชนในการค้นหาว่าทัศนคติและการปฏิบัติในชุมชนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็น อย่างไร เพื่อจะได้หาแนวทางหรือกิจกรรมต่าง ๆ
ที่จะช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมถึงการให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นและเหมาะสมกับวิถีชีวิตในแต่ละชุมชน ไม่ว่าจะอยู่ในเขต เมืองหรือในชนบท อย่างไรก็ตามชุมชนควรได้รับการสนับสนุน ร่วมมือกันโดยเชื่อมโยงเครือข่ายทาง สังคมกับระบบสุขภาพเพื่อให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อย่างมี ประสิทธิภาพ และยั่งยืน
จากการศึกษาและรายงานการวิจัยพบว่าปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้แม่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างต่อเนื่องได้นานที่สุดนั้น
อาจเนื่องมาจากการไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง เมื่อแม่มีปัญหาใน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่บ้าน เช่นแม่ที่ยังไม่มั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองได้ถูกต้อง มีความเข้าใจ ว่าลูกร้องหิวเพราะนมแม่น้อย หรือนมไม่พอจึงให้นมผสม หรืออาหารอื่นเพิ่ม แม่นมคัดทำให้หยุดให้ นม เป็นต้น ซึ่งถ้ามีผู้ให้การช่วยเหลือได้ทันที จะทำให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องต่อไปได้ ดังนั้นการจัดตั้งกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน เช่น กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (peer support) กลุ่มสนับสนุนนมแม่ (breastfeeding support group) มีความสำคัญที่จะช่วยสนับสนุน ช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส) เป็นบุคคลสำคัญในชุมชนที่จะให้การสนับสนุนช่วยเหลือ มารดาและทารกในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้อาสาสมัครสาธารณสุขจำเป็นต้องได้รับการ ฝึกอบรมที่เพียงพอทั้งความรู้และทักษะที่จำเป็นเช่นประโยชน์ของนมแม่ อาหารสำหรับเด็ก ท่าให้นม ลูก อย่างไรก็ตามอาสาสมัครสาธารณสุขอาจมีเวลาไม่เพียงพอในการให้ความช่วยเหลือแม่ที่มีปัญหา
การให้นมลูก ดังนั้น เพื่อน (peer) หมายถึงผู้ที่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับบุคคลที่ต้องการความ ช่วยเหลือ ในที่นี้หมายถึงผู้หญิงที่เคยมีบุตรมาก่อนหรือเคยมีประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาก่อน สามารถเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี (per counselor) โดยที่ผู้ให้คําปรึกษาควรได้รับการอบรมจาก บุคคลากรสุขภาพให้มีความพร้อมทั้งความรู้และทักษะจำเป็นที่ถูกต้องเพื่อที่จะสนับสนุนช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแก่มารดาโดยทำงานควบคู่กับอาสาสมัครสาธารณสุข นอกจากนี้ยังมีกลุ่มสนับสนุนนม แม่ (breastfeeding support group) หรือกลุ่มแม่ช่วยแม่ (mother-to-mother support group)
เป็นกลุ่มที่มี ความสำคัญในการช่วยเหลือสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีเป้าหมายคือการส่งเสริมและ สนับสนุนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจเป็นการให้คําปรึกษารายบุคคลหรือรายกลุ่ม โดยที่ผู้ให้การ สนับสนุนควรได้รับการฝึกอบรม จากบุคลากรสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และต้องมีคุณสมบัติที่ดีคือเป็นผู้ ที่พยายามเข้าใจในปัญหา เรียนรู้แม่ รับฟังปัญหาของแม่อย่างเข้าใจ สร้างความมั่นใจให้แม่ และให้การ สนับสนุนแม่จึงจะช่วยให้แม่สามารถตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเอง
ในประเทศไทยได้มีการดำเนินการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของชุมชน ได้แก่กลุ่ม สนับสนุนนมแม่ โดยที่ผู้หญิงที่จะให้การสนับสนุนนมแม่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพูดคุยให้กำลังใจ หรือช่วยกันแก้ไขปัญหา เพราะแม่ส่วนใหญ่ต้องการ กำลังใจและการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
หน้าที่ของผู้สนับสนุนนมแม่ในชุมชนทำโดยมีผู้นำกลุ่มที่มีความรู้และทักษะในการดำเนินการกลุ่ม ให้ความรู้เรื่องประโยชน์และวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ให้กับหญิงมีครรภ์ได้เตรียมตัวสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเหมาะสม เมื่อมีปัญหาต้อง ช่วยเหลือ สามารถช่วยเหลือให้ตัดสินใจแก้ปัญหาได้ถูกต้อง มีการติดตามเยี่ยมบ้าน
โดยสมาชิกกลุ่ม สนับสนุนนมแม่ที่มีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือ มีการทำงานเชื่อมโยงกับระบบการส่งต่อจาก โรงพยาบาลไปยังสถานบริการที่รับผิดชอบในพื้นที่ เพื่อให้แม่ได้รับการดูแล โดยการติดตามเยี่ยม บ้านซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือแม่เพื่อให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง
กลุ่มแม่บ้านหรือกลุ่มอาสาสมัครนมแม่เป็นกลุ่มที่สำคัญเช่นกัน ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ โดยการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เยี่ยมหญิงมีครรภ์ และแม่หลังคลอดในบ้านใกล้เคียงเพื่อ กระตุ้นให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยสอนวิธีการปฏิบัติ และการแก้ปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และ การดูแลสุขภาพเด็ก ช่วยแนะนำแม่ถึงวิธีการที่จะให้นมลูกในที่สาธารณะ นอกจากนี้การจัดตั้ง “ชมรม นมแม่” เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการสนับสนุนจากชุมชน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่ของชุมชน โดยใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ช่วยกันแก้ปัญหา และพัฒนา กระบวนการจิตอาสา โดยสมาชิกในชมรมนมแม่เข้าไปในพื้นที่ ใช้หลักของการทำงานร่วมกันเป็นทีม ตั้งแต่ผู้นำชุมชน กับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทั้งในระดับตำบลและอำเภอ และภาคีที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทั้งหมด เพื่อพบปะพูดคุยสร้างความเข้าใจกัน นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งระบบงานที่ดีโดยการ กระจายงานให้อาสาสมัครของชมรมนมแม่เท่าๆ กัน มีการแบ่งการทำงาน โดยกำหนดพื้นที่ออกเป็น โซนๆ ในการดูแล เพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาได้เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจริง
และมีระบบของการเรียนรู้ ร่วมกัน เช่น การเยี่ยมแม่ที่ตั้งครรภ์และหลังคลอดร่วมกันเป็นทีม ถ้าแม่มีปัญหา เช่น เต้านมคัด น้ำนม ไม่ไหล จะให้คำแนะนำและช่วยกันแก้ปัญหา ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ก็ส่งต่อไปยังคลินิกนมแม่หรือสถานี อนามัยใกล้บ้านเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบของความสำเร็จใน การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของชุมชน
สนับสนุนโดย หูตึงรักษาหายไหม